หน้าบทความ

อิทธิพลของรังสีแกมมาต่อคุณสมบัติของยางธรรมชาติที่มีแกรฟีนออกไซด์เป็นสารตัวเติม

Author 2

อ่านเพิมเติมแบบ PDF

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการฉายรังสีแกมมาและสารตัวเติมแกรฟีนออกไซด์

ต่อสมบัติเชิงกล ความต้านทานการบวมพองในน้ำมัน และสมบัติการทนต่อความร้อนของแผ่นฟิล์มยาง

ซึ่งแผ่นฟิล์มยางถูกเตรียมขึ้นโดยการนำน้ำยางธรรมชาติที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณรังสี 20, 40,

60 และ 80 กิโลเกรย์ ผสมกับแกรฟีนออกไซด์ที่ได้สังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีการของฮัมเมอร์ที่ปริมาณ 0, 1,

3 และ 5 กรัม แล้วทำการทดสอบสมบัติต่าง ๆ พบว่าการวัลคาไนซ์ยางธรรมชาติด้วยวิธีการฉายรังสี

แกมมามีผลทำให้ยางเกิดพันธะเชื่อมโยงภายในโมเลกุล โดยการฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณรังสี 60 กิโลเกรย์

ส่งผลให้แผ่นฟิล์มยางมีสมบัติด้านความทนต่อแรงดึง ความต้านทานการฉีกขาด และความทนต่อแรงดึง

หลังการบ่มเร่งด้วยความร้อนสูงสุด ในขณะที่การฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณรังสี 80 กิโลเกรย์ ส่งผลให้

ความต้านทานการบวมพองในน้ามันดีที่สุด และแผ่นฟิล์มยางที่มีการเติมแกรฟีนออกไซด์ปริมาณ 3 กรัม

จะให้ค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานการฉีกขาด และความต้านทานการบวมพองในน้ำมันสูงสุด

ในขณะที่การเติมแกรฟีนออกไซด์ที่ปริมาณ 5 กรัม จะทำให้แผ่นฟิล์มยางมีค่าความทนต่อแรงดึง

หลังการบ่มเร่งด้วยความร้อนสูงสุดและมีค่ามากกว่าความทนต่อแรงดึงก่อนการบ่มเร่ง แสดงให้เห็นว่า

แผ่นฟิล์มยางมีคุณสมบัติการทนต่อความร้อนที่ดีเยี่ยม