ประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์จากชานอ้อยและเหง้ามันสาปะหลังในการ บำบัดน้ำเสียจากการย้อมไหม
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเตรียมถ่านกัมมันต์จาก
ชานอ้อยและเหง้ามันสาปะหลังและเปรียบเทียบความสามารถในการดูดติดผิวของ
ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากชานอ้อยและเหง้ามันสาปะหลัง ซึ่งกระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์
และเถ้า รวมถึงศึกษาลักษณะทางกายภาพของถ่านกัมมันต์ที่ได้จากชานอ้อย และ
เหง้ามันสาปะหลัง จากผลการทดลอง พบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเผาวัตถุดิบให้
เป็นถ่านพร้อมกับการกระตุ้น คือ 900 องศาเซลเซียส ซึ่งทาให้ถ่านก่อนกระตุ้นกระตุ้นด้วย
โซเดียมคลอไรด์และเถ้า มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์และโมลาสนัมเบอร์สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบ
ความสามารถในการดูดติดผิวแล้ว พบว่า โดยรวมแล้วถ่านชานอ้อยที่กระตุ้นด้วย
โซเดียมคลอไรด์และเถ้ามีค่าไอโอดีนนัมเบอร์และโมลาสนัมเบอร์สูงกว่าถ่าน
เหง้ามันสาปะหลัง โดยมีค่าไอโอดีนนัมเบอร์สูงสุดเท่ากับ 655.68 มิลลิกรัมต่อกรัม และมี
ค่าโมลาสนัมเบอร์เท่ากับ 230.46 มิลลิกรัมต่อกรัม และจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพ
ของถ่านกัมมันต์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่า ถ่านชานอ้อยส่วนใหญ่
จะมีรูพรุนหนาแน่นอยู่เต็มพื้นที่ รูพรุนมีขนาดใหญ่และลึก สาหรับถ่านเหง้ามันสาปะหลังที่
กระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์มีรูพรุนมาก เรียงตัวเป็นระเบียบหนาแน่น ในส่วนที่กระตุ้นด้วย
เถ้าจะมีรูพรุนกระจายตัวอยู่ไม่หนาแน่นมากนัก ถ่านกัมมันต์ที่ได้จากวัสดุทั้งสองชนิดนี้
สามารถนาไปบาบัดน้าเสียที่เกิดจากการฟอกย้อมผ้าได้ รวมถึงนาไปเป็นตัวดูดซับสีและ
กลิ่นในการบาบัดน้าและอากาศได้อีกด้วย