หน้าบทความ

รูปแบบสถาปัตยกรรม เพื่อการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเชียงราย

นางสาว ข

บทคัดย่อ

 มรดกทางสถาปัตยกรรม ถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่าของบรรพบุรุษที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต
และความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเอกลักษณะเฉพาะตามบริบทของพื้นที่ โดยมี
คติความเชื่อและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สะท้อนในงานสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมของ
ชุมชน จากประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงราย การสร้างบ้านแปงเมือง ของพญามังราย บริเวณที่ราบลุ่ม
ริมฝั่งแม่น้ำกก ในเขตกำแพงเมืองเก่าและได้ขนานนามราชธานีแห่งนี้ว่า เชียงราย ซึ่งมีความหมายว่า
เมืองของพญามังราย การตั้งถิ่นฐานของผู้คนในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆปรากฏลักษณะงานสถาปัตยกรรม
พื้นถิ่นล้านนา และการได้รับอิทธิพลจากมิชชันนารีสอนศาสนาในงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นเมือง(Urbanization) ทำให้งานสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า
โดยเฉพาะอาคารประเภทบ้านพักอาศัย ถูกรื้อทำลายเพื่อสร้างใหม่ตามกระแสนิยม ทั้งนี้งานวิจัยได้
ศึกษาเพื่อสำรวจมรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทต่างๆในเมืองราย และสร้างรูปแบบทาง
สถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่เป็นต้นแบบ เพื่อการอนุรักษ์สภาพทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อเป็นแนวทาง
การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมของชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงราย และส่งเสริมให้
หน่วยงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบในการดำเนินการอนุญาตก่อสร้างและวางกรอบข้อบังคับเทศบัญญัติ
ท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เหมาะสมกับบริบท
ของเมืองเชียงราย