ผลของกลูเตนข้าวสาลี และเถ้าไม้ยางบดที่มีผลต่อสมบัติของพลาสติกชีวภาพจากแป้ง
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของกลูเตนข้าวสาลี และกลูเตนข้าวสาลี
ผสมเถ้าไม้ยางบดที่มีผลต่อสมบัติของพลาสติกชีวภาพจากแป้ง กลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ และ
ขึ้นรูปโดยใช้เทคนิคการกดอัดทางความร้อน โดยผสมกลูเตนข้าวสาลีและเถ้าไม้ยางบด 10 และ 2.5
เปอร์เซ็นต์ โดยน้าหนัก ตามล้าดับ การทดสอบค่าความต้านทานต่อแรงดึงพบว่าเมื่อผสมกลูเตนข้าวสาลี
ส่งผลให้พลาสติกชีวภาพจากแป้งมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ในขณะที่เมื่อผสมกลูเตนข้าวสาลีกับเถ้าไม้ยางบด
พลาสติกชีวภาพจากแป้งมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่า กลูเตนข้าวสาลีปรับปรุงการไวต่อ
ความชื้นของพลาสติกชีวภาพจากแป้งเพียงเล็กน้อยและไม่มีอิทธิพลต่อกระบวนการย่อยสลายของ
พลาสติกชีวภาพจากแป้ง แต่ค่าการดูดซับความชื้นของพลาสติกชีวภาพจากแป้งลดลงเมื่อผสมกลูเตน
ข้าวสาลีกับเถ้าไม้ยางบด เนื่องจากเถ้าไม้ยางบดมีความเป็นกรดด่างสูง ซึ่งสามารถเหนี่ยวน้าให้เกิด
การเชื่อมขวางระหว่างสายโซ่โปรตีนกลูเตนข้าวสาลี ส่งผลให้ขัดขวางการซึมผ่านของน้าและความชื้นเข้า
ไปยังเมทริกซ์แป้ง จากการศึกษาโครงสร้างทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ
ส่องกราด แสดงให้เห็นลักษณะทางสัณฐาณวิทยาของพลาสติกชีวภาพจากแป้งที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อผสม
กลูเตนข้าวสาลี และกลูเตนข้าวสาลีกับเถ้าไม้ยางบด